Welcome to my blog, hope you enjoy reading
RSS

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความเป็นมาของร่มเชียงใหม่


“จ้อง”คือคำที่ใช้เรียกร่มในภาษาล้านนา ร่มจากบ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง
จังหวัดเชียงใหม่ และหมู่บ้านใกล้เคียงถือเป็นร่มกระดาษที่มีคุณภาพดี
มีชื่อเสียงมานาน ซึ่งคนล้านนาได้รับอิทธิพลการทำร่มกระดาษมาจาก
ชาวจีนผ่านทางพม่าแต่ร่มกระดาษของจีนนั้น จะทาด้วยน้ำมันเรียกว่า
“ตังอิ๊ว” แต่ชาวล้านนา เรียกว่าน้ำมัน “บ่าหมื้อ” หรือ มะมื่อ มะเยา มะพอก
ของไทยกลาง เพื่อป้องกันแดดและฝน

ร่มทำจากโครงไม่ไผ่ ส่วนกระดาษที่ใช้หุ้มเป็นตัวร่มนั้นทำจากต้นสา
เพราะเป็นวัสดุที่หาง่ายมีความเหนียวและยืดหยุ่นได้ดีประวัติการทำร่ม
ของบ้านบ่อสร้างมีอยู่ว่าเดิมมีพระรูปหนึ่งชื่อครูบาอินถา เป็นเจ้าอาวาส
วัดบ่อสร้างในสมัยนั้น (ราว พ.ศ. 2450) ได้เดินธุดงค์เข้าไปในพม่าได้พบ
และนำเอาร่มกระดาษของพม่ามาใช้จากนั้นจึงนำมาดัดแปลงและส่งเสริม
ให้ชาวบ้านบ่อสร้างได้ทำขึ้นใช้จนกลายเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนกันตั้ง
แต่นั้นมา แต่เนื่องจากการทำร่มต้องใช้วัสดุอุปกรณ์และส่วนประกอบหลาย
ส่วน และผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน จึงทำให้การทำร่มกระจายกัน
ทำในหลายหมู่บ้าน โดยเฉพาะในเขตอำเภอดอยสะเก็ดและ อำเภอ
สันกำแพงของจังหวัดเชียงใหม่โดยแต่ละหมู่บ้านจะทำส่วนประกอบ
แต่ละส่วนแยกกันออกไปแล้วสุดท้ายจะนำมาหุ้มกระดาษสา
และตกแต่งวาดลวดลายที่บ้านบ่อสร้าง เพื่อจำหน่ายหรือส่งออกต่อไป

นอกจากร่มแล้ว ชาวบ้านยังผลิตพัดควบคู่กันไปด้วย เพราะใช้วัสดุอุปกรณ
์คล้ายคลึงกันรวมทั้งวิธีการผลิตก็ใกล้เคียงกัน ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนา และ
ประยุกต์เป็นหลายรูปแบบ หลายขนาด เช่น พวงกุญแจ เป็นต้น ร่มและพัดจึงเป็นสินค้าที่นิยมซื้อหาเพื่อใช้เป็นของที่ระลึกอีกชนิดหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น