Welcome to my blog, hope you enjoy reading
RSS

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเขียนลวดลายบนร่มเชียงใหม่

ในสมัยก่อนไม่ได้มีการเขียนลวดลายเหมือนในปัจจุบันเพียงใช้ร่มสีพื้นๆ 2 สี
ตามที่กล่าวมาแล้วคือสีแดง และสีดำ การเขียนลวดลายบนร่มเพิ่งมีขึ้นไม่กี่สิบปี
มานี้เอง การเขียนลวดลายลงบนร่มนับว่ามีส่วนสำคัญ ในการช่วยทำให้ร่มขายดี
ซึ่งทำความสนใจให้แก่นักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมสินค้าของหมู่บ้านนี้ ลวดลายที่
เขียนนั้นมีหลายประเภทด้วยกัน เช่นลายวิว ลายดอกไม ้ และลายสัตว์ต่างๆ ช่าง
วาดภาพเหล่านี้แสดงฝีมือ ให้เห็นถึงความตื่นตา ตื่นใจต่อผู้ที่ได้ชมทั้ง ชาวไทย
และชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก


ช่างวาดภาพ เหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนวาดภาพจากที่ไหนมา เพียงแต่
ได้ฝึกมาจากผู้ใหญ่ที่เคย วาดมาก่อน ที่หมู่บ้านบ่อสร้างนี้เอง โดยฝึกกันมาตั้งแต่เป็น
เด็กในการวาดลวดลาย ดอกไม้ ช่างวาดจะใช้พู่กันจิ้มสี 2 สี ข้างละสีในการวาด
แต่ละครั้งซึ่งนับว่าเป็นของแปลก ภาพที่ได้นั้นจะดูสวยงาม สีกลมกลืนกันดีดอกไม้
ที่วาดส่วนมากจะเป็น ดอกกุหลาบ การวาดก้าน และใบจะวาดเมื่อภาพดอกไม้ที่วาด
ก่อนหน้านั้น ได้นำ ไปตากให้แห้งแล้ว ภาพสัตว์ต่างๆ นั้นก็วาดขึ้นจากจินตนาการ
ตามที่เห็นสวยงาม เช่น ผีเสื้อ นก มังกร เป็นต้น................

การประกอบโครงร่มเชียงใหม่

วิิธีนี้คือวิธีการคลุมร่มด้วยวัสดุที่ต้องการ เช่น กระดาษ ผ้าฝ้ายหรือผ้าแพร
ซึ่งไม่ยุ่งยากซับซ้อนแต่ประการใด เพียงแต่นำวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตามที่กล่าวมา คลุมร่มแล้วทาด้วย กาว หรือ แป้งเปียกแล้วรีดให้เรียบ
ด้วยมือตัดให้ได้รูปตามโครง รูปที่คลุมก็เป็นอันใช้ได้ แป้งเปียกที่ใช้ทาร่มนี้
จะต้องผสมเข้ากับยางของผล ตะโกซึ่งได้จากการทุบผลตะโกให้ละเอียด
แล้วจึงนำไปดองไว้ประมาณ 3 เดือน จึงนำมาใช้น้ำตะโกนี้จะช่วยทำให้ร่ม
กันฝนได้และ ทั้งยังช่วยทำให้ร่มตึง และช่วยทำให้แป้งเปียกเหนียวยึดวัสดุ
ที่ใช้คลุมร่มเข้ากับโครงร่มให้สนิทดียิ่งขื้น



ในชั้นแรกทาแป้งเปียกที่ผสม น้ำยางตะโกสัก 2 ครั้ง ตากร่มให้แห้งแล้ว
นำมาทาทับอีกครั้งด้วยแป้งเปียก ล้วนๆ นำออกตากแดดให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง
จึงนำไปทาสีโดยใช้สีต่างๆ ตามที่ต้องการสมัยก่อนมีเพียง 2 สี คือสี
แดงและสีดำ สีแดงได้จากการนำสีของดิน แดงที่มีอยู่บนภูเขาส่วนสีดำนั้น
ได้มาจากการนำเขม่าไฟผสมน้ำมันยาง








ส่วนประกอบของร่มเชียงใหม่

ส่่วนประกอบของร่มเชียงใหม่
โครงร่มประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้ี้

หัวร่ม และตุ้มร่ม
ได้แก่ไม้โมก การทำหัวและตุ้มนี้ใช้วิธีกลึงโดย เครื่องมือโบราณ
ซึ่งเป็นที่บรรพ บุรุษได้เคยใช้ทำมาก่อน โดยตัดไม้ที่จะกลึงออก
เป็นท่อนๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ5 - 8นิ้วเจาะรูไว้ให้สามารถ
สวมเหล็กยึดไม้ กลึงไว้ได้พอดีแล้วเริ่มกลึงด้วยเครื่องกลึงไม้แต่
ละท่อนที่กลึงนี้ จะสามารถกลึงหัวหรือตุ้มได้ประมาณ 4- 5 อัน
โดยกลึงให้ได้ขนาดที่ ต้องการก่อน จึงค่อยตัดแยกออกจากกัน
อีกทีหนึ่ง


ซี่กลอนและค้ำ
ทำมาจากไม้ไผ่บง (ไผ่ตง )เพราะเหนียวทนทานและสวยงามกว่า
ไม้ไผ่ชนิดอื่นๆ ในตอนแรกต้องตัดไม้ไผ่ออกเป็นท่อนๆ ตามความ
ต้องการที่จะใช้ทำร่มแล้ว ผ่าออกเป็นซี่กลอนและค้ำตามที่ต้องการ
ไม้ไผ่ที่ผ่าออกนี้ ต้องจักออกเป็นซี่เล็กๆอีก โดยกะให้ได้ซี่กลอน
ประมาณ 8 - 9 ชิ้นเหลาให้ตรงปลายเรียว ส่วนโคนนั้นผ่ากลางแต่
ไม่ตลอดตลอดแนว เพื่อสอดใส่ค้ำในภายหลัง เจาะรู 2 รู สำหรับ
ร้อยด้ายเข้ากับโคนของค้ำ การทำค้ำทำโดยเหลาไม้ตามขนาดที่ต้อง
การให้เป็นชิ้นเรียวๆเหลาทั้งโคนและ ปลายให้แบนสำหรับสอดใส่
หัวและซี่กลอนต่อไปใช้สว่านเจาะเป็นรู 2 ร ูในส่วนที่จะใส่ด้ายจาก
ส่วนตุ้ม และ ด้ายตรงกลาง ส่วนปลาย ใช้เหล็กแหลมลนไฟเจาะรู
เพราะถ้าใช้สว่านเจาะแล้ว จะทำให้ไม้ไผ่แตกง่าย การร้อยด้ายเพื่อ
ประกอบโครงร่มนั้น ร้อยตามรูของซี่กลอนและค้ำทุกชิ้น เอาด้ายพัน
เข้าไปในรูที่ทำไว้ตอนกลึงหัวร่ม และตุ้ม สอดซี่ใส่เข้าไปใน ทุกๆ
ช่อง ช่องละซี่จนครบ ส่วนค้ำที่สอดใส่ในช่องตุ้มในลักษณะเดียวกัน
มัดด้ายให้แน่น


คันถือ
สำหรับร่มคันเล็ก ทำจากไม้เนื้ออ่อน เหลาด้วยมีดให้สวยงาม ส่วนร่ม
ใหญ่ใช้ไม้ไผ่ทำ


ม้า

เป็นสลักที่กางร่มออกแล้วไม่ให้หุบคืน สำหรับร่มคันเล็กทำด้วยลวด
สปริงร่มคันใหญ่ทำด้วยไม้ไผ่เหลา โดยเจาะช่องที่คันถือที่เป็นไม้ไผ่
แล้วใส่ม้าเข้าไปในช่อง ใช้ตะปูตอกให้ติดกัน เมื่อใช้มือบีดจะรัดตัว
เข้าหากัน พอปล่อยมือจะดีดตัวออกจากกัน


ปลอกลาน

เป็นศูนย์รวมระหว่างหัวร่มคันถือและซี่ร่มทำหน้าที่เป็นตัวเคลื่อน
ขึ้น- ลงเวลากางหรือหุบทำจากใบลาน ตัดเป็นชิ้นให้กว้างและยาวตาม
ขนาดที่พอเหมาะกับตัวร่ม แล้วพันรอบหัวร่มให้เชื่อมระหว่างซี่กลอน
กับหัวร่ม พันรอบอีกทีด้วยกระดาษสา ทากาวหลายๆชั้น
เพราะถ้าใช้สว่านเจาะแล้ว จะทำให้ไม้ไผ่แตกง่าย การร้อยด้ายเพื่อ
ประกอบโครงร่มนั้น ร้อยตามรูของซี่กลอนและค้ำทุกชิ้น เอาด้ายพัน
เข้าไปในรูที่ทำไว้ตอนกลึงหัวร่ม และตุ้ม สอดซี่ใส่เข้าไปใน ทุกๆ
ช่อง ช่องละซี่จนครบ ส่วนค้ำที่สอดใส่ในช่องตุ้มในลักษณะเดียวกัน
มัดด้ายให้แน่น













ความเป็นมาของร่มเชียงใหม่


“จ้อง”คือคำที่ใช้เรียกร่มในภาษาล้านนา ร่มจากบ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง
จังหวัดเชียงใหม่ และหมู่บ้านใกล้เคียงถือเป็นร่มกระดาษที่มีคุณภาพดี
มีชื่อเสียงมานาน ซึ่งคนล้านนาได้รับอิทธิพลการทำร่มกระดาษมาจาก
ชาวจีนผ่านทางพม่าแต่ร่มกระดาษของจีนนั้น จะทาด้วยน้ำมันเรียกว่า
“ตังอิ๊ว” แต่ชาวล้านนา เรียกว่าน้ำมัน “บ่าหมื้อ” หรือ มะมื่อ มะเยา มะพอก
ของไทยกลาง เพื่อป้องกันแดดและฝน

ร่มทำจากโครงไม่ไผ่ ส่วนกระดาษที่ใช้หุ้มเป็นตัวร่มนั้นทำจากต้นสา
เพราะเป็นวัสดุที่หาง่ายมีความเหนียวและยืดหยุ่นได้ดีประวัติการทำร่ม
ของบ้านบ่อสร้างมีอยู่ว่าเดิมมีพระรูปหนึ่งชื่อครูบาอินถา เป็นเจ้าอาวาส
วัดบ่อสร้างในสมัยนั้น (ราว พ.ศ. 2450) ได้เดินธุดงค์เข้าไปในพม่าได้พบ
และนำเอาร่มกระดาษของพม่ามาใช้จากนั้นจึงนำมาดัดแปลงและส่งเสริม
ให้ชาวบ้านบ่อสร้างได้ทำขึ้นใช้จนกลายเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนกันตั้ง
แต่นั้นมา แต่เนื่องจากการทำร่มต้องใช้วัสดุอุปกรณ์และส่วนประกอบหลาย
ส่วน และผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน จึงทำให้การทำร่มกระจายกัน
ทำในหลายหมู่บ้าน โดยเฉพาะในเขตอำเภอดอยสะเก็ดและ อำเภอ
สันกำแพงของจังหวัดเชียงใหม่โดยแต่ละหมู่บ้านจะทำส่วนประกอบ
แต่ละส่วนแยกกันออกไปแล้วสุดท้ายจะนำมาหุ้มกระดาษสา
และตกแต่งวาดลวดลายที่บ้านบ่อสร้าง เพื่อจำหน่ายหรือส่งออกต่อไป

นอกจากร่มแล้ว ชาวบ้านยังผลิตพัดควบคู่กันไปด้วย เพราะใช้วัสดุอุปกรณ
์คล้ายคลึงกันรวมทั้งวิธีการผลิตก็ใกล้เคียงกัน ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนา และ
ประยุกต์เป็นหลายรูปแบบ หลายขนาด เช่น พวงกุญแจ เป็นต้น ร่มและพัดจึงเป็นสินค้าที่นิยมซื้อหาเพื่อใช้เป็นของที่ระลึกอีกชนิดหนึ่ง